วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

งานวันที่ 31 ต.ค.2551 ข้อสอบ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ข้อสอบปลายภาค
วิชา ระบบการสื่อสารข้อมูล 2/47

ตอนที่1
1.พื้นที่สัญญาณครอบคลุมการทำงานเรียกว่าอะไร
ก.AP ค.ESS
ข.BSS * ง.DCF

2.ข้อใดไม่ถูกต้องในการกล่าวถึง Rang ของความถี่
ก. 902 MHz-928 MHz
ข.2.400 GHz-204835 GHz
ค.5.725GHz-5.855GHz
ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข.

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามจากข้อ 3-8 **เขียนคำตอบลงในช่อง ก.
A. industry
B. Science
C. Medical
D. 900 MHz
E. 2.400 GHz
F. IEEE802.11a
G. IEEE802.11b
H. 54 Mbits
I. 2 Mbits
J. 11 Mbits
K. DSSS
L. FHSS
M. ISM

**F 3. Data Rate สูงสุดที่สามารถส่งข้อมูลได้ใน wireless Lan ที่ใช้ Machanism แบบOFDM
**E 4.Radio Frequency ที่ใช้งานเยอะที่สุดใน IEEE802.11
**K 5.IEEE802.11ใช้ mechanism แบบใด
**K 6.Machanism แบบใดที่มี Data Rate 11 Mbits
**M 7. ย่านความถี่ที่อนุญาตให้ได้ในงานอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และการแพทย์

8. Radio frequency 2.400 GHz มีกี่ channel
ก. 54
ข. 69
** ค. 79
ง. 8

9. ในการ hop แต่ละ hop ใช้การ synchronize ต่างกันเท่าไหร่
**ก. 0.4 ms per hop*
ข. 0.45 ms per hop
ค. 0.2 ms per hop
ง. 0.25 ms per hop
10. สถาปัตยกรรมของ Wireless lan ใน mode ใดที่ต้องเดินสาย wire network
ก. Ad-hoc
ข. Peer to peer
*ค. Infrastructure*
ง. Bss
11. Routing protocol มีกี่แบบ อะไรบ้าง
ก. 2 แบบ Link state & Distance Vector
ข. 2 แบบ Link state & Dynamic
*ค. 2 แบบ Dynamic & Static
ง. 2 แบบ BGP & SPF
12. ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาลักษณะของ routing ที่ดี
ก. Cost ต่ำ
ข. Delay ต่ำ
*ค. Space ต่ำ
ง. Hop ต่ำ
13. Protocol BGP พิจารณาการส่งข้อมูลจากอะไร
ก. จำนวนลิงค์
ข. ระยะทาง
*ค. จำนวน Router
ง. ราคาเช่า
14. ลักษณะสำคัญของ Routing table ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก. ต้นทาง
ข. ปลายทาง
ค. ต้นทาง ปลายทาง
*ง. ต้นทาง โปรโตคอล ปลายทาง

15. OSFP (Open Shortest Path First) เป็นชื่อของ
ก. Algorithm
*ข. Protocol
ค. Router
ง. Routing Table

16. ชนิดของเส้นใยแก้วนำแสงที่ใช้รับ- ส่งข้อมูลในระยะทางไกล ๆ
ก. Grade index Multimode
ข. Step index Multimode
*ค. Single Mode
ง. ถูกทุกข้อ

17. แกนกลางที่เป็นใยแก้วนำแสงเรียกว่าอะไร
ก. Jacket ค. Cladding
ข*. Core ง. Fiber
18. แสงที่เดินทางในเส้นใยแก้วนำแสงจะตกกระทบตรงมุม คือลักษณะของเส้นใยแบบใด
ก. Grade Index Multimode
ข*. Step Index Multimode
ค. Single Mode
ง. ถูกทุกข้อ
19. แสงที่เดินทางในเส้นใยแก้วนำแสงจะเป็นเส้นตรง คือลักษณะของเส้นใยแก้วแบบใด
ก. Grade Index Multimode
ข. Step Index Multimode
ค*. Single Mode
ง. ถูกทุกข้อ
20. ต้นกำหนดแสง(optical source) ที่มี Power ของแสงเข้มข้น
ก*. Laser
ข. LED
ค. APD
ง. PIN-FET

21. ข้อใดคือ Fast Ethernet
ก. 10base5
ข*. 100baseFL
ค. 1000baseFX
ง. 10GbaseTX

22. 10BaseF ใช้สายสัญญาณอะไรในการส่งข้อมูล
ก. UTP ค. Coaxial
ข. STP ง*. Fiber Optic

23. ข้อใดไม่ใช่ Ethernet แบบ 100 mbps
ก. 1000BaseT
ข*. 100BaseTX
ค. 1000BaseX
ง. 1000BaseFL

24. ขนาด Frame ที่เล็กที่สุดของ Gigbit Ethernet คือ
ก. 53 byte
ข. 64 byte
ค. 128 byte
ง. 512 byte

25. Ethernet ใช้ protocol ใดในการตรวจสอบการส่งข้อมูล
ก. LLC
ข. CSMA/CA
ค*. CSMA/CD
ง. ALOHA

26. Ethernet 10baseT ต่อยาวกี่เมตรสูงสุด
ก. 80 ม.
ข*. 100 ม.
ค. 150 ม.
ง. 185 ม.

27. ใครเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของ Ethernet
ก. OSI ข*. IEEE
ค. ISO
ง. CCITT

28. 10Base5 ใช้สาย Coaxial แบบใด
ก. Thin ข*. Thick
ค. UTP
ง. STP

29. Fast Ethernet มีความเร็วเท่าใด
ก. 10 mbps ข*. 100 mbps
ค. 1000 mbps
ง. 10 Gbps
30. 100Mbps, baseband, long wavelength over optical fiber cable คือมาตรฐานของ
ก. 1000 Base-LX
ข*. 1000 Base-FX
ค. 1000 Base-T2
ง. 1000 Base-T4
31. ATM มีขนาดกี่ไบต์
ก. 48 ไบต์ ข*. 53 ไบต์
ค. 64 ไบต์
ง. 123 ไบต์
32. CSMA พัฒนามาจาก
ก. CSMA/CA ข. CSMA/CD
ค. CSMA
ง*. ALOHA
33. Internet เกิดขึ้นที่ประเทศอะไร
ก. AU
ข. JP
ค*. USA
ง. TH
34. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายข้อมูล หรือ Transport technology
ก*. SDH
ข. ATM
ค. Mobile
ง. DWDM
35. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเรียกว่าอะไร
ก. CS internet
ข. Operator
ค. Admin
ง*. ISP
36. การแจกจ่ายหมายเลขไอพีแอดเดรส ให้กับเครื่องลูกโดยอัตโนมัติเรียกว่าอะไร
ก. DNS
ข. FTP
ค*. DHCP
ง. Proxxy

37. การถ่ายโอนข้อมูลบนระบบอินเตอร์เน็ตเรียกว่าอะไร
ก. DNS
ข. FTP*
ค. DHCP
ง. Proxxy
38. โปรโตคอลการสื่อสารที่เป็น offline
ก. ICMP
ข. TCP
ค. UDP*
ง. ARP
39. การหาเส้นทางการส่งข้อมูลเรียกว่า
ก. Routing**
ข. Routing Protocol
ค. Routing Table
ง. Router
40. ข้อใดไม่มีในขั้นตอนการทำ server 7 พ.ค 48
ก. DHCP
ข. DNS
ค. FTP
ง. Virtual host
41. หมายเลข IP Class ใดรองรับการทำงานของ host ได้สูงสุด
ก. A*
ข. B
ค. C
ง. D
42. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างชนิดเข้าด้วยกันคือ
ก. Hub
ข. Switching
ค. Modem
ง. Router*
43. การ set ค่าความสำคัญสูงสุด (High priority) ของ packet เป็นหน้าที่ของ function ใดต่อไปนี้
ก. PIFS*
ข. SIFS
ค. DIFS
ง. MIB
44. การป้องกันการชนกันของการส่งข้อมูลใด WLAN ใช้หลักการใด
ก. ALOHA
ข. CSMA
ค. CSMA/CA
ง. CSMA/CD*
45. Data Rate สูงสุดขนาด 54 Mb ที่ใช้ส่งได้ใน WLAN ใช้มาตรฐานใดและใช้หลัก mechanism (กลไกการส่ง) แบบใด
ก. IEEE802.11a; DSSS
ข. IEEE802.11b; FHSS
ค. IEEE802.11a; OFDM*
ง. IEEE802. 11b; OFDM

46. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ D/A คือ
ก. Hub
ข. Switching
ค. Modem*
ง. Router
47. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รอดแคสสัญญาณ (Broadcast) คือ
ก. Hub*
ข. Switching
ค. Modem
ง. Router

48. Mechanism ใดของ WLAN ที่มีการรบกวน (Interference) สูงที่สุดใด
ก. Diffuse IR
ข. DSSS
ค. OFDM
ง. FHSS*
49. CIDR 192.168.0.0/24 จะมีค่า subnet mask เท่าใด
ก. 255.255.0.0
ข. 255.255.128.0
ค. 255.255.255.0*
ง. 255.255.255.192
50. การ Roaming ใช้กับการโอนถ่ายข้อมูลระหว่าง
ก. AP กับ AP*
ข. AP กับ AP
ค. AP กับ BSS
ง. BSS กับ ESS









วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ข้อสอบ Topogogy

1.Topogogy แบบใดที่ใช้สายเคเบิลน้อยที่สุด
ก. Star Topology
ข. Bus Topology
ค. Ring Topology
ง. Mesh Topology
2. การแบ่งปันการใช้ข้อมูลในระบบเครือข่ายยุคแรก ๆ ใช้การบันทึกข้อมูลลงดิสก์แล้วส่งไปยังผู้ใช้รายอื่น ๆ เรียกระบบเครือข่ายแบบนี้ว่าอะไร
ก. Diskette Netwrok
ข. LinkerNet
ค. SneakerNet
ง. Topology
3. ระบบเครือข่ายแบบดาว ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เรียกว่า
ก.โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์
ข.ดาว
ค.ถูกทุกข้อ
ง.ไม่มีข้อถูก
4.รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีกี่แบบ
ก. 2
ข. 3
ค. 4
ง. 5

5. คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกันเปแนข้อดีของระบบเครือข่ายใด
ก. โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
ข.โทโปโลยีแบบบัส (BUS)
ค. โทโปโลยีแบบดาว (STAR)

ง. โทโปโลยีแบบ Hybrid

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551

"Topology"

Topology

>>โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้


>>1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
>>ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
>>ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้

>>2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
>>ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
>>ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง



>>3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
>>ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
>>ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ


>>4.โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน

>>5.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก


ประเภทของระบบเครือข่าย Lan ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงาน
ในการแบ่งรูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Lan นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่การเชื่อมต่อแบบ Peer - To - Peer และแบบ Client / Server
>>1. แบบ Peer - to - Peer เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะทีทัดเทียมกัน ไม่มีเครื่องใดเครื่องเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักเหมือนแบบ Client / Server แต่ก็ยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบเครือข่ายไว้เหมือนเดิม การเชื่อต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก และเป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับมากนัก เครือข่ายแบบนี้ ก็เป็นรูปแบบที่น่าเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี


>>2. แบบ client-server เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ เครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ ซึ่งอาจจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ถึงจะทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client - Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer To Peer เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น จะทำกันบนเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ทำให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่อง Client

>>ประเภทของระบบเครือข่ายมีอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ก็คือ การเชื่อมต่อแลนแบบไร้สาย Wireless Lan แลนไร้สาย WLAN เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ได้อย่างกว้างขวาง เหมาะที่จะใช้ได้ทั้งเครื่องพีซีตั้งโต๊ะธรรมดา และเครื่อง NoteBook ซึ่งการส่งสัญญาณติดต่อกันนั้น จะใช้สัญญาณวิทยุเป็นพาหะ ดังนั้นความเร็วในการส่งข้อมูลก็จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับระยะทาง ระยะทางยิ่งไกล ความเร็วในการส่งข้อมูลก็ทำให้ช้าลงไปด้วย แลนไร้สายเหมาะที่จะนำมาใช้กับงานที่ต้องการความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน อย่างเช่นพวก เครื่อง NoteBook เพียงแต่มีอินเตอร็เฟสแลนแบบไร้สาย ก็สามารถเคลื่อนที่ไปที่ใดก็ได้ภายในของเขตของระยะทางที่กำหนด อย่างเช่นภายในตึกได้ทั่วตึกเลยที่เดียว จุดเด่น ๆ ของ Wireless Lan มีดังนี้
- การเคลื่อนที่ทำได้สะดวก สามารถใช้ระบบแลนจากที่ใดก็ได้ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real Time ได้อีกด้วย
- การติดตั้งใช้งานง่าย และรวดเร็ว ไม่ต้องเดินสายสัญญาณให้ยุ่งยาก
- การติดตั้งและการขยายระบบ ทำได้อย่างกว้างขวาง เพราะสามารถขยายไปติดตั้งใช้งาน ในพื้นที่ ที่สายสัญญาณเข้าไม่ถึง
- เสียค่าใช้จ่ายลดน้อยลง เพราะว่าในปัจจุบันการส่งสัญญาณของ Wireless Lan ทำได้ไกลมากยิ่งขึ้น สามารถส่งได้ไกลกว่า 10 กม. ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการเช้าสายสัญญาณลงไปได้เป็นอย่างมาก
- มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและการติดตั้ง สามารถปรับแต่งระบบให้ใช้ได้กับทุก Topology เลยทีเดียว การปรับแต่งทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครือข่าย การติดตั้ง Application ต่าง ทำได้โดยง่าย
มาตราฐานของ Wireless Lan นั้นตามมาตรฐานสากล 802.11 มีอัตราการส่งสัญญาณข้อมูลได้สูงสุด 11 เมกะบิตต่อวินาที ระยะทางการรับส่งสัญญาณขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าออกแบบมาอย่างไร ถ้าเป็นการใช้ภายในอาคารสถานที่ ก็จะใช้สายอากาศแบบทุกทิศทาง จะได้ระยะทางประมาณ 50 เมตร แต่ถ้าเป็นการใช้กันแบบจุดต่อจุดหรือนอกสถานที่ ก็จะมีการออกแบบให้ใช้สายอากาศแบบกำหนดทิศทาง ให้ได้ระยะทางมากกว่า 10 กม.ได้


Lan Protocol - Ethernet
Ethernet เป็นโปรโตคอลของระบบ lan ตามมาตราฐานหนึ่งของ
IEEE ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 มาตรฐานหลัก ๆ คือ ARCnet , Token Ring และ Ethernet ซึ่งคุณสมบัติ ข้อกำหนด ขีดจำกัด ลักษณะการใช้งาน อุปกรณ์ที่ใช้ และ การใช้ Topology ก็จะแตกต่างกันออกไป ดังแสดงตามตารางดังนี้

มาตรฐาน

ความเร็วการรับส่งข้อมูล

ชนิดของสายสัญญาณ

รูปแบบของ Topology

ARCnet

2.5 Mbps

Coaxial , UTP

Star , Bus

Token Ring

4 หรือ 16 Mbps

UTP , STP

Ring , Star

Ethernet

10 Mbps

Coaxial , UTP

Bus , Star


ซึ่งในที่นี้เราจะกล่าวถึงเฉพาะโปรโตคอล Ethernet เท่านั้น ซึ่งโปรโตคอลของ Ethernet นี้ จะอยู่ในมาตรฐานของ IEEE 802.3 โดยได้รับการออกแบบโดย Xerox ในปี 1970 เป็นเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10 Mbps แต่ในในปัจจุบันนี้ได้มีเทคโนโลยีความเร็วที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet และ Gigabit Ethernet ดังนี้

ETHERNET

อัตราความเร็ว 10 Mbps

อัตราความเร็ว 100 Mbps

อัตราความเร็ว 1000 Mbps

อัตราความเร็ว 10 Gbps

บางทีจะเรียกว่า ......... ตามมาตรฐาน IEEE 802.3

ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3u

ซึ่งเรียกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3z/802.3ab

ซึ่งเรืยกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3ae

ซึ่งเทคโนโลยีความเร็วดังที่กล่าวมานี้ จะตั้งอยู่บนมาตรฐาน ของ Ethernet แบบเดียวกัน คือ สายที่สามารถใช้ได้ ก็จะเป็นพวกสาย โคแอคเชียล ( Coaxial Cable ) สายแบบ เกลียวคู่ ( Twisted Pair Cable - UTP ) และสายแบบ ใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic Cable ) ส่วนโทโปโลยี ที่ใช้ก็จะอยู่ในรูปแบบของ BUS กับ Ring เสียเป็นส่วนใหญ่
จากระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ที่กล่าวมาทั้งหมด จะมีจุดสำคัญอยู่ที่ ได้นำเอาคุณสมบัติดังที่กล่าวมา มาใช้ มาเชื่อมต่อให้อยู่ในรูปแบบ ที่ต้องการใช้ตามมาตรฐานของ Ethernet ซึ่งจะมีมาตรฐานการเชื่อมต่ออยู่ด้วยกันหลายแบบ มาตรฐานในการเชื่อมต่อ อย่างเช่น 10base2 , 10base5 , 10baseT , 10baseFL , 100baseTX , 100baseT4 และ 100baseFX ซึ่งมาตรฐานรูปแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ และ ระยะทางที่สามารถส่งได้ อย่างเช่น 10base2 เป็นมาตรฐานที่ใช้ความเร็ว 10 Mbps ใช้สายแบบ Coaxial แบบบางหรือ เรียกว่า thin Ethernet รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) เป็นแบบ BUS ระยะทางในการรับส่งข้อมูลประมาณ 185-200 เมตร เป็นต้น

ETHERNET

มาตรฐาน
การเชื่อมต่อ

อัตราความเร็ว
การรับส่งข้อมูล

ระยะความยาว
ในการรับส่งข้อมูล

Topology
ที่ใช้

สายที่ใช้ Cable

ชื่อเรียก

10base2

10 Mbps

185 - 200 เมตร

BUS

Thin Coaxial

Thin Ethernet หรือ Cheapernet

10base5

10 Mbps

500 เมตร

Thick Coaxial

Thick Ethernet

10baseT

10 Mbps

100 เมตร

STAR

Twisted Pair (UTP)

10baseF

10 Mbps

2000 เมตร

Fiber Optic

100baseT

100 Mbps

......... เมตร

Twisted Pair (UTP)

Fast Ethernet

เรื่องที่ 2 e-Learning ที่เกี่ยวข้อง

http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/network/

http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/network.htm

http://mail.hu.ac.th/~s4052056/pg2.html

http://utcc2.utcc.ac.th/faculties/engineer/computer/course_description-3.php มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

http://regelearning.payap.ac.th/มหาวิทยาลัยพายัพ

http://md.rmutk.ac.th/มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

http://space.kbu.ac.th/el/index.asp มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

http://elearning.dusit.ac.th/xedu/Home.aspx มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

http://sutonline.sut.ac.th/moodle/mod/resource/view.php?id=7790 มหวิทยาลัยเทคโนดลยีสุรนารี

http://www.academic.hcu.ac.th/e-learning/e-learning.html มหวิทยาลัยหัวเฉลียวเฉลิมพระเกียรติ


URL ที่สนใจ คือ
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/network/

>>>เพราะ เป็นเว็บไซต์ที่กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังมีหัวข้อต่างๆ ให้ศึกษาอีก คือ ความคิดเริ่มต้นอย่างช้า ๆ , พัฒนาการทางไมโครคอมพิวเตอร์ไปเร็วเกินคาด , ทำไมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงมาแรง , ความต้องการเชื่อมโยงให้เป็นระบบเดียวกัน , เทคโนโลยีก้าวล้ำไปเป็นไฮเทค , ระบบเครือข่ายช่วยงานอะไร , ต้องการใช้ทรัพยากรร่วมกัน , ต้องการลดต้นทุนระบบรวม , ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน , เพิ่มการประยุกต์ใช้งาน ,
การกระจายการทำงาน : ปรัชญาของเครือข่าย ฯลฯ

เรื่องที่ 1 คำอธบายรายวิชา เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย

ความรู้เบื้องต้นเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เครือข่าย การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินอล ชั้นของโปรโตคอลมาตรฐาน OSI รูปแบบต่าง ๆ ของเครือข่าย X.25 เนตเวิร์คและดิจิตอลเนตเวอร์ค การประมวลผลแบบตามลำดับและแบบขนาน การไปป์ไลน์ (Pipelining) การประมวลผลแบบเวคเตอร์ (Vector Processing) การประมวลผลแบบอะเรย์ (Array Processors) มัลติโปรเซสเชอร์ (Multiprocessor) และฟอลท์โทเลอร์แรนซ์ (Fault Tolerance)

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เส้นใยแก้วนำแสง

เส้นใยแก้วนำแสง
เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optic) คืออะไร
เส้นใยแก้วนำแสงหรือไฟเบอร์ออปติก เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมากเส้น
ใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา เส้นใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำ
สัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมากเส้นใยแก้วนำแสงสามารถแบ่งตาม
ความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด คือ เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode Optical
Fibers, SM) และชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM) ในปัจจุบันได้มีการ
พัฒนาเส้นใยแก้วนำแสง ที่ทำมาจากพลาสติกเพื่องานบางอย่างที่ไม่คำนึงถึงการสูญเสียสัญญาณมากนัก เช่น การสื่อสารใน
ระยะทางสั้น ๆ ไม่กี่เมตร
เส้นใยแก้วนำแสงประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน
คือ ส่วนที่เป็นตัวกลางนำแสงซึ่งทำจากวัสดุ เช่น แก้ว พลาสติก เรียกว่าแกน (core) กับส่วนที่เป็นที่ห่อหุ้มแกน
(cladding)โดยดัชนีหักเหของที่ห่อหุ้มแกนจะมีค่าน้อยกว่าดัชนีหักเหของแกนทั้งนี้ก็เพื่อกั้นไม่ให้แสงภายในเส้นใย
แก้วนำแสงทะลุออกมาภายนอกเส้นใยแก้วนำแสงบางรุ่นจะมีเพียงแกนกับที่ห่อหุ้มแกนเท่านั้น จึงทำให้เส้นใยแก้วนำแสง
ดังกล่าวมีขนาดเล็กมากแต่ในเส้นใยแก้วนำแสงที่ใช้งานทั่วไปนั้นถัดจากส่วนที่ห่อหุ้มแกนออกมา จะเป็นส่วนที่ห่อหุ้ม
สำหรับทำหน้าที่ป้องกันการฉีกขาดของเส้นใยแก้วนำแสง และเป็นส่วนที่รองรับแรงดึงแรงบิดที่กระทำต่อเส้นใยแก้วนำแสง
รวมทั้งป้องกันไม่ให้แสงหรือรังสีอินฟราเรดจากภายนอกเข้ามารบกวนสัญญาณภายในเส้นใยแก้วนำแสง ส่วนห่อหุ้มนี้มักจะ
ทำจากวัสดุเหนียวสีดำ สำหรับเส้นใยแก้วนำแสงบางรุ่นที่มีขนาดใหญ่มาก จะมีการใส่สายเคเบิ้ลโลหะด้วยเพื่อเพิ่มความแข็ง
แรงทนทานในอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย สำนักงานอาคารอุตสาหกรรมต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้สายสัญญาณเพื่อเชื่อมโยง
ระบบสื่อสาร แต่เดิมสายสัญญาณที่นำมาใช้ ได้แก่ สายตัวนำทองแดง ปัจจุบันสายสัญญาณระบบสื่อสารมีความจำเป็นมากขึ้น
โดยเฉพาะ ระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และมีแนวโน้มที่จะรวมระบบสื่อสาร อย่างอื่นประกอบเข้ามาในระบบด้วย เช่น ระบบเคเบิลทีวี ระบบโทรศัพท์ ระบบการบริการข้อมูลข่าวสารเฉพาะของบริษัทผู้ให้บริการต่างๆ ความจำเป็น
ลักษณะนี้ จึงมีผู้ตั้งคำถามว่า ถึงเวลา แล้วหรือยังที่จะให้อาคารที่สร้างใหม่ มีระบบเครือข่ายสายสัญญาณด้วยเส้นใยแก้วนำ
แสง หากพิจารณาให้ดีพบว่า เวลานั้นได้มาถึงแล้ว ปัจจุบันราคาของเส้นใยแก้วนำแสงที่เดินในอาคารมีราคาใกล้เคียงกับสาย
UTP แบบเกรดที่ดี เช่น CAT 5 ขณะเดียวกันสายเส้นใยแก้วนำแสง ให้ประสิทธิภาพที่สูงกว่ามาก และรองรับการใช้
งานในอนาคตได้มากกว่า สายยูทีพี (UTP) แบบ CAT 5 รองรับความเร็วสัญญาณ ได้ 100 เมกะบิตต่อวินาที และมี
ข้อจำกัดในเรื่องความยาวเพียง 100 เมตร ขณะที่สายใยแก้วนำแสงรองรับความถี่สัญญาณได้หลายร้อยเมกะเฮิรตซ์ และยัง
ใช้ได้กับ ความยาวถึง 2,000 เมตร การพัฒนาในเรื่องต่างๆของเส้นใยแก้วนำแสงได้ก้าวมาถึงจุดที่จะนำมาใช้กัน
อย่างกว้างขวางแล้ว บทความนี้จึงขอนำเสนอเพื่อแสดงให้เห็นว่า เส้นใยแก้วนำแสงมีจุดเด่นอย่างไร มีแนวโน้มการใช้งาน
ด้านใดบ้าง และที่สำคัญคือ จะได้เป็นข้อมูลสำหรับการศึกษา และทำความเข้าใจกับเส้นใยแก้วนำแสง เพื่อว่าจะได้เห็นข้อดีข้อ
เสียรวมถึงแนวทางการนำมา ประยุกต์ให้คุ้มค่า โดยเฉพาะการมองแนวทางของเทคโนโลยีในระยะไกล
จุดเด่นของสายใยแก้วนำแสง
จุดเด่นของเส้นใยแก้วนำแสงมีหลายประการ โดยเฉพาะจุดที่ได้เปรียบสายตัวนำทองแดง ที่จะนำมาใช้แทนตัวนำทองแดง จุดเด่นเหล่านี้ มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งประกอบด้วย ความสามารถในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร เส้นใยแก้วนำแสงที่เป็นแท่งแก้ว ขนาดเล็ก มีการโค้งงอได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้กันมากคือ 62.5/125 ไมโครเมตร เส้นใยแก้วนำแสงขนาดนี้ เป็นสายที่นำมาใช้ภายในอาคารทั่วไปเมื่อใช้กับคลื่นแสงความยาวคลื่น 850 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้มากกว่า 160 เมกะเฮิรตซ์ ที่ความยาว 1 กิโลเมตร และถ้าใช้ความยาวคลื่น 1,300 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้กว่า 500 เมกะเฮิรตซ์ ที่ความยาว 1 กิโลเมตร และถ้าลดความยาวลงเหลือ 100 เมตร จะใช้กับความถี่ของสัญญาณมากกว่า 1 กิกะเฮิรตซ์ได้ ดังนั้นจึงดีกว่าสายยูทีพีแบบแคต 5 ที่ใช้กับสัญญาณได้ 100 เมกะเฮิรตซ์
1.กำลังสูญเสียต่ำ
เส้นใยแก้วนำแสงมีคุณสมบัติในเชิงการให้แสงวิ่งผ่านได้ การบั่นทอนแสงมีค่าค่อนข้างต่ำ ตามมาตรฐานของเส้นใยแก้วนำแสง การใช้เส้นสัญญาณนำแสงนี้ใช้ได้ยาวถึง 2,000 เมตร หากระยะทางเกินกว่า 2,000 เมตร ต้องใช้ รีพีตเตอร์ทุกๆ 2,000 เมตร การสูญเสียในเรื่องสัญญาณจึงต่ำกว่าสายตัวนำทองแดงมาก ที่สายตัวนำทองแดงมีข้อกำหนดระยะทางเพียง 100 เมตร หากพิจารณาในแง่ความถี่ที่ใช้ ผลตอบสนองทางความถี่มีผลต่อกำลังสูญเสีย โดยเฉพาะในลวดตัวนำทองแดง เมื่อใช้เป็นสายสัญญาณ คุณสมบัติ ของสายตัวนำทองแดงจะเปลี่ยนแปลง เมื่อใช้ความถี่ต่างกัน โดยเฉพาะเมื่อใช้ความถี่ของสัญญาณที่ส่งในตัวนำทองแดง สูงขึ้น อัตราการสูญเสียก็จะมากตามแต่กรณีของเส้นใยแก้วนำแสง เราใช้สัญญาณความถี่มอดูเลตไปกับแสง การเปลี่ยน สัญญาณรับส่งข้อมูลจึงไม่มีผลกับกำลังสูญเสียทางแสง
2. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่สามารถรบกวนได้
ปัญหาที่สำคัญของสายสัญญาณ แบบทองแดง คือ การเหนี่ยวนำโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัญหานี้มีมาก ตั้งแต่เรื่องการรบกวนระหว่างตัวนำหรือเรียกว่า Crosstalk การไม่แมตซ์พอดีทางอิมพีแดนซ์ ทำให้มีคลื่นสะท้อนกลับ การรบกวนจากปัจจัย ภายนอกที่เรียกว่า EMI ปัญหาเหล่านี้สร้างให้ผู้ใช้ต้องหมั่นดูแล แต่สำหรับเส้นใยแก้วนำแสง แล้ว ปัญหาเรื่องเหล่านี้จะไม่มี เพราะแสงเป็นพลังงานที่มีพลังงานเฉพาะ และไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเดินทาง ในเส้นแก้วก็ปราศจากการรบกวนของแสงจากภายนอก
3. น้ำหนักเบา
เส้นใยแก้วนำแสงมีน้ำหนักเบากว่าเส้นลวดตัวนำทองแดง น้ำหนัก ของเส้นใยแก้วนำแสงขนาด 2 แกนที่ใช้ทั่วไป มีน้ำหนักเพียงประมาณ 20 ถึง 50
เปอร์เซนต์ของสาย UTP แบบ CAT 5
ขนาดเล็กเส้นใยแก้วนำแสงมีขนาดทางภาคตัดขวางแล้ว เล็ก
กว่าลวดทองแดง มาก ขนาดของเส้นใยแก้วนำแสง เมื่อรวมวัสดุหุ้มแล้วมีขนาดเล็กกว่าสายยูทีพี โดยขนาดของสายใยแก้วนี้ใช้พื้นที่ประมาณ 15 เปอร์เซนต์ ของเส้นลวดยูทีพีแบบ CAT 5 มีความปลอดภัยในเรื่องข้อมูลสูงกว่า การใช้เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะใช้ แสงเดินทางในข่าย จึงยากที่จะทำการแท๊ปหรือทำการดักฟังข้อมูล มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินการที่เส้นใยแก้วเป็นฉนวนทั้งหมด จึงไม่นำกระแสไฟฟ้า การลัดลงจร การเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าจึงไม่เกิดขึ้น
4. เส้นใยแก้วนำแสงมีราคาแพง
แนวโน้มทางด้านราคามีการเปลี่ยนแปลงราคาของเส้นใยแก้วนำแสงลดลง จนในขณะนี้ยังแพงกว่าสายยูททีพีอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนักนอกจากนี้หลายคนยังเข้าใจว่า การติดตั้งเส้นใยแก้วนำแสงมีข้อยุ่งยาก และต้องใช้คนที่มีความรู้ความชำนาญ เสียค่าติตั้งแพง ความคิดนี้ก็คงไม่จริง เพราะการติดตั้งทำได้ไม่ยากนักเนื่องจากมีเครื่องมือพิเศษช่วยได้มาก เครื่องมือพิเศษนี้สามารถเข้าหัวสายได้โดยง่ายกว่าแต่เดิมมาก อีกทั้งราคาเครื่องมือก็ถูกลงจนมีผู้รับติดตั้งได้ทั่วไป
เส้นใยแก้วนำแสงยังไม่สามารถใช้กับเครื่องที่ตั้งโต๊ะได้
ปัจจุบันพีซีที่ใช้ส่วนใหญ่ต่อกับแลนแบบอีเธอร์เน็ต ซึ่งได้ความเร็ว 10 เมกะบิต การเชื่อมต่อกับแลนมีหลายมาตรฐาน โดยเฉพาะปัจจุบันหากใช้ความเร็วเกินกว่า 100 เมกะบิต สายยูทีพีรองรับไม่ได้ เช่น เอทีเอ็ม 155 เมกะบิต แนวโน้มของการใช้งานระบบเครือข่ายมีทางที่ต้องใช้แถบกว้างสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องการให้พีซีเป็นมัลติมีเดียเพื่อแสดงผลเป็นภาพวิดีโอ การใช้เส้นใยแก้วนำแสงดูจะเป็นทางออก พัฒนการของการ์ดก็ได้พัฒนาไปมากเอทีเอ็มการ์ดใช้ความเร็ว 155 เมกะบิต ย่อมต้องใช้เส้นใยแก้วนำแสงรองรับ การใช้เส้นใยแก้นำแสงยังสามารถใช้ในการส่งรับวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ หรือสัญญาณประกอบอื่น ๆ ได้ดี

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

งานวันที่ 13 สิงหาคม 2551

Open Shortest Path First (OSPF)

Open Shortest Path First (OSPF) ถือเป็น เร้าติ้งโปรโตคอล (Routing Protocol) ตัวหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในระบบเน็ตเวิร์ก เนื่องจากมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น การที่ตัวมันเป็น Routing Protocol แบบ Link State, การที่มีอัลกอรึทึมในการค้นหาเส้นทางด้วยตัวเอง ซึ่งเปรียบเสมือนว่า ตัวของ เราเตอร์ที่รัน OSPF ทุกตัวเป็นรูท (Root) หรือ จุดเริ่มต้นของระบบไปยังกิ่งย่อยๆ หรือโหนด (Node) ต่างๆ ซึ่งเป็นเทคนิคในการลดเส้นทางที่วนลูป (Routing Loop) ของการ Routing ได้เป็นอย่างดี รวมถึงความสามารถในการ Convergence หรือ การรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงใน Topology หรือเส้นทางของ Network ได้อย่างรวดเร็วจนกระทั่งพูดได้เลยว่า แทบจะทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลง Topology ขึ้นในระบบ และความสามารถในการรองรับการขยายของระบบ (Scalable) ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่ง ข้อดีดังกล่าวนั้น ทำให้ บรรดา Network Architect ต่างๆ นั้นนิยมเลือก OSPF มาเป็น Routing Protocol หลัก แทนที่ Routing Protocol แบบ Distance Vector เช่น RIP หรือ IGRP ซึ่ง ก่อนที่จะลงถึงรายละเอียดของ OSPF นั้น ก็จะมีการเกริ่นถึง คำที่เกี่ยวข้องภายใน Routing Protocol ของ OSPF เสียก่อน

OSPF Terminology

Neighbor – หรือ เราเตอร์เพื่อนบ้าน ในที่นี้จะหมายถึง เราเตอร์ที่ รัน Process ของ OSPF ซึ่งทำการเชื่อมต่ออยู่กับเราเตอร์ตัวอื่นๆ ที่รัน OSPF อยู่ด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่า Adjacent Router (เราเตอร์ที่เชื่อมต่อกัน) ซึ่ง เราเตอร์เพื่อนบ้านกันนี้ จะคอยค้นหากันและกันผ่าน Hello Packet ซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการเราติ้งจะไม่ถูกส่งผ่านกันจนกว่าจะมีการฟอร์มความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน (Adjacency Forms)

Adjacency – หรือ เป็นการฟอร์มความสัมพันธ์กันระหว่างเราเตอร์เพื่อนบ้าน กับ เราเตอร์ที่ทำหน้าที่ที่เรียกว่า Designated Router และ Backup Designated Router (จะกล่าวเรื่องนี้อีกครั้งในช่วงต่อๆไป)

Link – เป็นการเรียกถึงเน็ตเวิร์กที่รัน OSPF อยู่ หรืออาจหมายถึง Interface ที่ทำการรัน OSPF อยู่ด้วยก็ได้

Interface หมายถึง พอร์ทที่เชื่อมต่ออยู่กับเราเตอร์ ซึ่งอาจจะเป็น Physical Port (เช่น อีเธอร์เน็ต) หรืออาจจะเป็น Logical Port (เช่น Sub-Interface ในการเซต Frame-Relay) เมื่ออินเทอร์เฟซนั้นๆ ถูกเซตให้อยู่ใน Process ของ OSPF แล้ว และอินเทอร์เฟซอยู่ในสถานะที่ UP ตัว Process ของ OSPF จะทำการสร้าง Link State Database โดยผ่านทาง Link นี้

Link State Advertisement (LSA) – เป็น แพคเกตข้อมูลที่ OSPF Process ใช้ในการแลกเปลี่ยนสถานะของอินเทอร์เฟซและลิงค์ในหมู่เราเตอร์ที่รัน OSPF ด้วยกัน ซึ่งจะมีการแยกประเภทของ LSA packet ในช่วงหลังของบทความ

Designated Router (DR) - เป็นเราเตอร์ที่เป็นจุดศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือสถานะในระหว่างเราเตอร์ด้วยกัน เนื่องจาก การมี เราเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Centralize ในระบบ จะสามารถช่วยลดปริมาณแพคเกต LSA ที่จะส่งกันในหมู่เราเตอร์ด้วยกันได้ ซึ่ง DR นี้ จะถูกใช้ใน เน็ตเวิร์กที่เป็น Broadcast (Multi-Access) และ Non-Broadcast Multi-Access (เช่น อีเธอร์เน็ต หรือ เฟรมรีเลย์ เท่านั้น)

Backup Designated Router (BDR) จะถือว่าเป็นเราเตอร์ตัวแทน (Hot Standby) ของ Designated Router (DR) โดยที่ BDR จะคอยรับ Routing Update จากเราเตอร์เพื่อนบ้าน แต่ตัวมันเองจะไม่ทำการ Flood LSA ออกไปเหมือนอย่างที่ DR ทำ จนกระทั่งหากว่า DR ในระบบล่มลงไป BDR จึงจะเข้ามาเป็น DR แทน

OSPF Areas – ในความหมายของ AREA ใน OSPF จะคล้ายๆกับ เป็น Autonomous System (AS) หนึ่งๆ ซึ่งเหมือนกับเป็นกลุ่มของเราเตอร์ที่รัน OSPF ด้วยกัน และมีขอบเขตในการแลกเปลี่ยนเราติ้งเทเบิลกันภายในกลุ่มของตัวเองเท่านั้นโดยดีฟอล์ต (Default)

Internal Router – หมายถึง เราเตอร์ที่รัน OSPF แต่ ทุกๆ Interface อยู่ภายใน Area ของตนเท่านั้น หรือ ไม่มี Interface ใดๆ อยู่ภายใน Area อื่น หรือ Routing Protocol อื่นๆ

Area Border Router (ABR) – หมายถึง เราเตอร์ที่รัน OSPF ที่มีอินเทอร์เฟซอยู่มากกว่า 1 AREA และ ถูกใช้เป็นทางเข้าสำหรับเราติ้งเทเบิลของภายนอก AS ที่จะเข้ามา update ภายใน Area ด้านใน

Autonomous System Boundary Router (ASBR) – หมายถึง เราเตอร์ที่มี อินเทอร์เฟซที่ นอกเหนือจากรัน OSPF แล้ว ยังรันเราติ้งโปรโตคอลอื่นๆ ด้วย เช่น EIGRP, RIP (เราถือว่า เราติ้งโปรโตคอลอื่นๆ ว่าเป็น External Area) และหน้าที่ของ ASBR ก็คือ การถ่ายทอด เราติ้งเทเบิลเข้ามายังใน OSPF Area

Non-Broadcast Multi-Access (NMBA), Broadcast Multi-Access – หมายถึง เน็ตเวิร์กที่อนุญาตให้มีการ Access มากกว่า 1 Session แต่ไม่มีการ Broadcast Packet เช่น Frame Relay, X.25 และ Broadcast Multi-Access เช่น อีเธอร์เน็ต เปนต้น

Point-to-Point – หมายถึงการเชื่อมต่อแบบ จุดต่อจุด เช่น Dedicated Link (T1), PPP เป็นต้น

Router ID – หมายถึง IP Address ที่ได้ทำการ Assign เพื่อเป็นการ Identify ให้กับเราเตอร์ในการเลือก DR, BDR โดยที่ปกติแล้ว เราเตอร์ใน OSPF จะเลือก DR จาก Router ID ที่ IP Address ที่สูงที่สุดที่เซตใน Loopback Interface แต่ถ้าหากว่า Loopback Interface ไม่ถูกเซตไว้ ก็จะทำการเลือก IP Address ที่สูงสุดใน Physical Interface แทน

ข้อดีของ OSPF

- สนับสนุนการแบ่งเน็ตเวิร์กเป็นลำดับขั้น (Hierarchical Network)
- ใช้อัลกอริทึม ของ Diijkstra (Link State) ในการค้นหาเส้นทาง และป้องกันเราติ้งลูป
- สนับสนุน Classless Routing และ CIDR (Classless Interdomain Routing)
- สามารถทำ Route Summarization เพื่อลดขนาดของเราติ้งเทเบิลได้
- ราติ้งอัพเดตสามารถที่จะควบคุมการส่งได้ ไม่เหมือน Routing Protocol แบบ Distance Vector ที่ต้องส่ง Routing Table ทั้งตัว ออกไปตามช่วงเวลาที่กำหนด ทำให้สูญเสีย แบนด์วิดธ์ไปโดยไม่จำเป็น
- ในการส่ง Routing Update จะทำผ่าน มัลติคาส์ท แอดเดรส (Multicast Address) ซึ่งมีข้อดีคือ ลดผลกระทบต่อ Host หรือ Client อื่นๆ จาก การ บรอดคาสท์ (Broadcast)
- สนับสนุนการทำ Authentication ทั้งแบบ Clear Text และ MD5

OSPF Overview

- Instances หรือ โปรเซสของ OSPF สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ 1
– 65535 แต่ไม่สมควรกระทำการรัน OSPF มากกว่า 1 โปรเซสพร้อมๆ กัน หากไม่จำเป็น
- AREA ของ OSPF สามารถมีได้ถึง 2^32 หรือ ประมาน 4,200,000 AREA
- ในเราเตอร์ที่รัน OSPF จะต้องมี AREA 0 อยู่ เสมอ ถือว่าเป็น Backbone AREA
- หากว่าเน็ตเวิร์กนั้นๆ มีหลาย AREA ทุก AREA จะต้องคอนเนคเข้าหา AREA 0 เสมอ อาจจะเป็นการต่ออินเทอร์เฟซเข้าหา AREA 0 หรือทำ Virtual Links วิ่งเข้าหา AREA 0 ก็ได้
- Default Administrative Distance ของ OSPF คือ 110

OPSF Tables

ใน OSPF นั้น จะมีตารางภายในเราเตอร์ทั้งหมด 3 ตารางคือ
1. Neighbor Table ไว้เก็บรายชื่อเราเตอร์ที่ฟอร์มความสัมพันธ์ และ สถานะของ DR/BDR และ สถานะของลิงค์, Hello และ Dead Time Interval
2. Topology Table ไว้เก็บเส้นทางที่เป็นไปได้ทั้งหมดในการที่เราเตอร์จะส่งแพคเกตไปยังปลายทาง ซึ่งใน OSPF สามารถที่จะทำการกระจายโหลด (Load Balance) ไปยังเส้นทางที่มี Cost เท่ากันได้ 6 เส้นทาง (4เส้นทางโดยค่า Default)
3. Routing Table ไว้เก็บเส้นทางที่สั้นที่สุดที่ได้รับการคำนวณมาจาก SPF Algorithms เรียบร้อยแล้ว


SPF Calculation

ใน OSPF จะใช้ อัลกอรึทึมของ Diijkstra (Link State) ในการคำนวณหาเส้นทางที่สั้นที่สุด โดยพิจารณาจากเส้นทางที่สั้นที่จุดจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง และเมื่อไปถึงปลายทางแล้ว ก็จะทำ Cumulative Cost หรือ ค่าของลิงค์หรือแบนด์วิดธ์โดยรวมมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งหากว่า เส้นทางใดที่มองจากต้นทางไปยังปลายแล้ว มีค่า Cost ที่ ดีที่สุด เราจะถือว่าเส้นทางนั้นเป็นเส้นทางที่ Shortest Path ซึ่งใน Cisco Routers นั้น สูตรในการคำนวณ เส้นทางแต่ละเส้นทางของ OSPF จะนำมาจากสูตร

Cost = (10^8/Bandwidth)

ซึ่งการค้นหาเส้นทางที่สั้นที่สุด ก็จะนำเอา Cost ของจากขาออกของอินเทอร์เฟซจุดหนึ่งไปถึงอีกอินเทอร์เฟซจุดหนึ่งมาบวกต่อๆ กัน จนกระทั่งถึงอินเทอร์เฟซของเราเตอร์ปลายทาง และนำมาเปรียบเทียบกันกับเส้นทางอื่นๆ เราเรียกผลรวมในลักษณะนี้ว่า “Cumulative Cost”

OSPF Operation

กระบวนการของ OSPF จะเกิดขึ้นตามลำดับต่อไปนี้
- ค้นหาเราเตอร์ที่รัน OSPF และฟอร์มความสัมพันธ์ด้วย Hello Packet

- เราเตอร์ต่างเก็บชื่อและสถานะของ Link ไว้ที่ Neighbor Table
- เลือก DR/BDR (หากเป็น Point-to-Point, Point-to-Multipoint จุดนี้จะถูกข้ามไป)
- ทำการ Flood LSA เพื่อแลกเปลี่ยนสถานะของ Link และ Interface โดยทำการ Copy LSA และทำการเพิ่มสถานะของตน จากนั้น Flood ออกไปยัง DR ที่ Multicast Address 224.0.0.6 และให้ DR เป็นผู้ Flood LSA ต่อไปยังเราเตอร์ทุกๆตัวที่ Multicast Address 224.0.0.5
- Copy LSA ลงไปใน Topology Table ของตน
- ทำการคำนวณ Shortest Path First ด้วย Diijkstra Algorithms
- นำเส้นทางที่สั้นที่สุดมาใส่ลงใน Routing Table
- หากมีการเปลี่ยนแปลง Topology ใน ระบบ จะทำการ Flood LSA ออกไปทันที (Triggered Update)

OSPF Process Flow

Neighbor States

1. Down State – ไม่มีเราเตอร์ตัวไหนที่รับส่ง Hello Packet กัน
2. Init – Hello Packet ถูกส่งจากเราเตอร์ไปยังเราเตอร์เพื่อนบ้าน แต่เป็นการส่งกันทางเดียว เราเตอร์อีกฝั่งจะยังไม่เห็นเราเตอร์เพื่อนบ้านอื่นๆ
3. 2Way – Hello Packet ถูกรับส่งกันทั้งสองฝั่งซึ่งรวมถึง Router ID ด้วย และหากข้อมูลบางอย่างใน Hello Packet ตรงกัน ก็สามารถที่จะฟอร์มความสัมพันธ์กันได้
4. ExStart – ทำการเลือก DR/BDR
5. Exchange – เราเตอร์ทำการ Flood LSA ออกไปและแลกเปลี่ยนกัน
6. Loading – มีการแลก LSA ที่อัพเดตแล้วจาก DR/BDR ไปยังเราเตอร์ตัวอื่นๆ ที่ผ่านขั้นตอน ExStart มาแล้ว
7. Full – LSA ทั้งหมดได้รับการอัพเดตตรงกันทั้งหมดแล้วในเราเตอร์ทุกๆตัว

OSPF Hello Packet Information

ภายใน Hello Packet ของ OSPF ถูกบรรจุด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้
- Router ID
- Area ID
- Authentication Information
- Network Mask
- Hello Interval
- Options
- Router Priority
- Router Dead Interval
- DR
- BDR
- Neighbor Router IDs
ในเน็ตเวิร์กแบบ NBMA, BMA นั้น จะมี ข้อมูลของ DR/BDR แต่ในขณะที่ Point-to-Point และ Point-to-Multipoint นั้นจะไม่มี DR/BDR และ ในการฟอร์มความสัมพันธ์กันนั้น ค่าของ Hello และ Dead Interval นั้นจะต้องเท่ากัน มิเช่นนั้นจะฟอร์มความสัมพันธ์กันไม่ได้ และ หากว่าเราเตอร์ตัวใดที่มีการเซตค่า Priority เป็น 0 จะไม่ถูกนำมาคิดในการเลือก DR/BDR

LSA Flooding

ในกระบวนการแลกเปลี่ยน LSA หรือ Link State Advertisement ของในเราเตอร์นั้น LSA Packet จะถูกแชร์กันในระหว่างหมู่เราเตอร์ที่รัน OSPF ด้วยกันผ่านทาง Multicast Address หมายเลข 224.0.0.5 ซึ่งใน LSA Packet นี้ จะมีอยู่ด้วยกันหลาย Type ซึ่ง จะแสดงให้เห็นคร่าวๆ ว่า LSA นั้น มีประเภทใดบ้าง (ใน CCNA ไม่เน้น แสดงเพื่อเพียงให้เห็นภาพเท่านั้น)

Link State Advertisement Types

1. Router LSA – เป็น LSA ที่รวบรวม สถานะของ Link ใช้ในการแชร์กันระหว่างเราเตอร์ที่รัน OSPF ใน AREA เดียวกัน
2. Network LSA – ถูกใช้โดย DR ในการส่ง LSA เพื่อบอกสถานะเกี่ยวกับ Network ในAREA ที่เฉพาะเจาะจง
3. Network Summary LSA - ใช้ในการส่ง LSA ที่เกี่ยวข้องกับ AREAอื่นๆ เข้ามาใน AREAของตนเอง โดยที่ สิ่งที่ส่งเข้ามาคือ Summary Route ของ AREA อื่นๆ
4. ASBR Summary LSA - ใช้ในการส่ง LSA ที่เกี่ยวข้องกับ AREAอื่นๆ เข้ามาใน AREAของตนเอง โดยที่ สิ่งที่ส่งเข้ามาคือ Summary Route ของ ASBR Router
5. AS External LSA – ใช้ในการส่ง LSA ของ External Routing Protocol (เช่น RIP) เข้ามายังภายใน AREA (มีการทำ Redistribute Route)
6. Group Membership LSA
7. NSSA (Not-So-Stubby Area) External LSA – ใช้ในการส่ง LSA ข้าม AREA ที่ไม่ต้องการให้มีการแพร่กระจาย LSA เข้าไปยัง AREA นั้นๆ โดยที่ เมื่อถึง AREA ปลายทาง LSA Type 7 นี้จะแปลงกลับมาเป็น LSA Type 5 เพื่อกระจาย External Route ให้แก่ Router ภายใน AREA นั้นๆ
8. External Attributes LSA

9. Opaque LSA (Link-Local Scope)
10. Opaque LSA (Area-Local Scope)
11. Opaque LSA (AS Scope)

LSA Acknowledgement and Validation

LSA ACK นั้น เป็นแพคเกตที่ส่งจากเราเตอร์ที่ได้รับ LSA จากเราเตอร์ต้นทาง กลับไปยังต้นทางว่า ตนเองนั้นได้รับ LSA แล้ว ซึ่ง LSA ACK นั้น จะมีอยู่ด้วยกันสองประเภทคือ

Explicit Acknowledgement คือ การที่ส่ง LSA ACK กลับไปยัง Interface ทีได้รับ LSA มาในตอนแรก

Implicit Acknowledgement เป็นการ Flood LSA ที่ตนเองได้รับซ้ำกลับไปยังเราเตอร์ต้นทาง และในส่วนของ Implicit Acknowledgement นี้ ก็จะมีสองกรณีอีกคือ

- Direct Method ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับ LSA ที่ซ้ำกัน หรือ LSA นั้นๆได้หมดอายุลง (ค่า Default คือ 1 ชม.)
- Delay Method จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ส่งต้องการส่ง LSA ACK พร้อมกับ LSA อื่นๆ ที่ต้องการส่งด้วย
- การ Validation จะกระทำผ่านทาง LSA Update ซึ่งก็จะมีการ Checksum ที่ส่วนท้ายของ Header


OSPF and Loopback Interface

Loopback Interface ถือเป็น อินเทอร์เฟซเสมือน (Logical Interface) ซึ่ง ใน OSPF นั้น จะพิจารณาว่า หากมีการ Configure Loopback Interface ไว้ จะถือว่า IP ของ Loopback Interface นี้เป็น Router ID ทันที และ ในการเลือก DR/BDR ใน NBMA, BMA จะทำการเลือกจาก IP Address ของ Loopback Interfaces ที่มีค่าของ IP Address ที่สูงที่สุด แต่หากว่า ไม่มีการเซ็ตค่า Loopback Interface ไว้ OSPF จะเลือก IP Address ที่สูงที่สุดจาก Physical Interface แทน ซึ่ง Network Administrator ที่ดี ควรจะเซต Router ID หรือ IP Address ที่ Loopback Interface เนื่องจาก Loopback Interface นั้น มีเสถียรภาพมากกว่า Physical Interface เนื่องจาก มันจะดาวน์ลงไปก็ต่อเมื่อ เราเตอร์ทั้งตัวนั้นได้ดาวน์ลงไปเท่านั้น ส่วน คำสั่งในการเซต Loopback Interface ได้แก่

- Cisco(config)#interface lo0

- Cisco(config-if)#ip address 203.148.145.241 255.255.255.255

- Cisco(config-if)#no shutdown
Subnet Mask 255.255.255.255 เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Host Masks”

ประเภทของ Routing Entry ภายใน OSPF

ใน OSPF มีเราติ้งเอนทรีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทได้แก่
1. Intra-Area Routing หมายถึง เราติ้งเอนทรีที่คำนวณได้จากอัลกอรึทึม SPF ภายใน AREA เดียวกัน ซึ่งหากเราดูจากคำสั่ง show ip route เราจะพบว่า เราติ้งเอนทรีที่เป็น OSPF Intra-Area นี้ จะมีสัญลักษณ์ “O” อยู่ด้านหน้าเราติ้งเอนทรี
2. Inter-Area Routing หมายถึงเราติ้งเอนทรีที่ใช้เป็นเส้นทางที่ไปยังซับเน็ต (Subnet) ที่อยู่ต่าง Area กัน เราเตอร์ปัจจุบันที่เป็น Internal Router จะรับทราบเส้นทางประเภทนี้ได้จากเราเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Area Border Router (ABR) ปัจจุบัน ซึ่งหากเราดูจากคำสั่ง show ip route เราจะพบว่า เราติ้งเอนทรีที่เป็น OSPF Inter-Area นี้ จะมีสัญลักษณ์ “O IA” อยู่ด้านหน้าเราติ้งเอนทรี
3. External Routes หมายถึงเราติ้งเอนทรีที่ใช้เป็นเส้นทางไปยังซับเน็ตที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของเราติ้งโปรโตคอลอื่นๆ ซึ่งได้มาจากการทำ “Route Distribution” เราเตอร์ปัจจุบันจะรับทราบเส้นทางประเภทนี้ได้จากเราเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Autonomous System Boundary Router (ASBR) ซึ่งหากเราดูจากคำสั่ง show ip route เราจะพบว่า เราติ้งเอนทรีที่เป็น OSPF External Routes นี้ จะมีสัญลักษณ์ “E1 หรือ E2” อยู่ด้านหน้าเราติ้งเอนทรี



******************************************************************

Routing Information Protocol (RIP)

RIP เป็น routing protocol ที่นิยมกันมากอีกตัวหนึ่งในการติดต่อสื่อสารของ Internet
RIP เป็น routing protocol ระยะทางซึ่งหมายถึง มันวางรากฐานทางเดินของ routing ของมันตามจำนวนการรับ-แล้ว-ส่งต่อ(hop) ไปจนถึงปลายทาง ในปี 1982 RIP ปรากฏใน Berkeley Software Distribution (BSD) ซึ่งเป็นversion ของUNIX ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Transmission Control Protocol /Internet Protocol(TCP/IP) ปัจจุบันrouting protocols จำนวนมากใช้RIP เป็นพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น routing protocol ของ AppleTalk อยู่บนพื้นฐานของ RIP บริษัทอื่นๆก็เช่น Novell และ Banyan มีRIP เป็นrouting protocol ตามความจริง Microsoft ได้เพิ่มประสิทธิภาพWAN ของ NT โดยการเพิ่มการสนับสนุน routing packets ที่วางรากฐานอยู่บน RIP
โพรโตคอลเลือกเส้นทางแบบตารางระยะทาง (RIP) ที่มีพื้นฐานมาจากอัลกอริทึมของ Bellman-Ford วิธีการนี้สามารถทำงานได้ดีในระบบขนาดเล็ก แต่ประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อระบบมีขนาดใหญ่ขึ้น รวมทั้งมีปัญหาที่เรียก “Cout-to-infinity” และปัญหาความล่าช้าในการค้นหาคำตอบ
เราเตอร์นำ RIP ไปดำเนินการโดยเก็บรักษา information ใน ตารางการเดินทาง(routing table)ของมัน คอลัมภ์ปลายทางจะแสดงการเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ทั้งหมด ในขอบเขตการรับ-แล้ว-ส่งต่อ(hop) ครั้งถัดไปจะหา router port ที่จะส่งแพ็กเก็ตถัดไป และในขอบเขตของระยะทางจะมีการค้นหาจำนวนการรับ-แล้ว-ส่งต่อ(hop) จนไปถึงปลายทางของ network ตารางการเดินทาง(routing table) ของ RIP จะบรรจุเส้นทางที่ดีที่สุดที่จะไปถึงปลายทางที่เจาะจงแล้วเท่านั้น
ถ้าตัวเราเตอร์ได้รับ routing information ใหม่มาจาก node อื่นๆมันจะบันทึกเอาไว้
RIP เก็บรักษาทางเดินของ routingที่เหมาะสม โดยการส่งข้อความการปรับปรุง routing ออกไป
ถ้า network topology มีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่าง ถ้าตัวเราเตอร์พบว่า linkมีข้อบกพร่องมันจะปรับปรุง ตารางการเดินทาง(routing table) ของมันเอง ต่อจาดนั้นจึงส่งcopy ของตาราง(table) ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปยังเราเตอร์ข้างเคียง(neighbors)และเราเตอร์ข้างเคียง(neighbors)จะปรับปรุงตาราง(table)ของตัวเองด้วย information ใหม่ และส่งต่อไปยังเราเตอร์ข้างเคียง(neighbors)ของมันอีกต่อหนึ่งไปเรื่อยๆ ภายในระยะเวลาสั้นๆ เราเตอร์จะมีinformation ใหม่แต่ละ field ของ RIP packet เป็นดังนี้


COMMEND - หาความแตกต่างระหว่างการร้องขอหรือการตอบสนองได้หรือไม่ การร้องขอแพ็กเก็ต ถามเราเตอร์ข้างเคียง(neighbors router)ให้ตอบสนองโดยส่งตารางการเดินทาง(routing table)ของมันไปให้ การตอบรับแพ็กเก็ตอาจเป็นได้ทั้งคำตอบที่เกิดจากการร้องขอหรือตารางการเดินทาง(routing table) ที่ปรับปรุงใหม่โดยไม่มีการร้องขอ
VERSION NUMBER - จำแนก version ของ RIP
ADDRESS FAMILY IDENTIFIFR -จำเพาะaddress family สำหรับใน internet


เลขที่นี้จะต้องสอดคล้องกับIP(ค่า value=2)

ADDRESS - จำแนกตารางการเดินทาง(routing table)ของปลายทางที่เฉพาะเจาะจง
MATRIC - จำแนกจำนวนครั้งการรับ-แล้ว-ส่งต่อ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการไปถึงปลายทางใน address field
เกี่ยวกับ RIP เราเตอร์แต่ละตัวมีอิสระในการส่ง copy ตารางการเดินทาง(routing table)ของมันไปยังเราเตอร์ข้างเคียง(neighbors)แต่ละตัวของมันโดยเป็นข้อความการตอบสนองทุกๆ30วินาที RIP packet ตัวหนึ่งจะบรรจุชุดของ Address Family Identifier , Address และ Metric ได้มากกว่า 25 ชุด เพราะฉะนั้น RIP packets หลายๆตัวจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ตารางการเดินทาง(routing table) ขนาดใหญ่มากๆ ในการเพิ่มนั้นRIP จะเก็บช่วงเวลาของเราเตอร์ข้างเคียง(neighbors)แต่ละตัวมาพิจารณาหลังสุด ถ้าใช้เวลามากตัวอย่างเช่น 90 วินาที ผ่านไปโดยไม่มีการตอบสนองจากเราเตอร์ข้างเคียง(neighbors) RIP จะส่ง applicable rout จาก ตารางการเดินทาง(routing table) กลับมาและแจ้งให้เราเตอร์ข้างเคียง(neighbors)
ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงนี้
RIP เสนอลักษณะเฉพาะหลายๆอย่าสงเช่น hop-count,hlod-downs,split horizoms และpoision reverse ปรับปรุงที่ความมั่นคงของตัวมันเอง
hop-count limit หลีกเลี่ยงการส่งไปอย่างไม่สิ้นสุดของแพ็กเก็ตถ้ามันเข้าไปใน routing loop
hop-count limitของ RIP คือ 15จำกัดโดยnetwork ที่เล็กกว่า
hold-downs ขัดขวางตัวเราเตอร์จาก routing information ที่รับมาไม่ถูกต้อง เช่น การนำกลับมาที่ไม่เหมาะสมของเส้นทางที่ถูกนำกลับมาโดยเร็ว การปรับปรุง(update) จะส่งออกไปเพื่อบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงใน topology เช่น link ที่ผิด,ไม่สามารถไปถึงอุปกรณ์ทั้งหมดใน network ได้ทันที เพราะฉะนั้นตัวเราเตอร์ที่ยังไม่ได้รับการปรับปรุงจะแสดงให้รู้ว่า link ผิดพลาด จึงควรจะส่งตารางการเดินทาง(routing table)ไปยังเราเตอร์ตัวอื่นที่บอกว่า link นั้นไม่ดีโดยเร็ว ตัวเราเตอร์จะนำ link ที่ผิดกลับมาอย่างไม่ถูกต้อง



********************************************************

Border Gateway Protocol (BGP)

Border Gateway Protocol (BGP) เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยัง router แต่ละตัว เพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด

host ที่ใช้การติดต่อด้วย BGP จะใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และส่งข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วของตาราง router เฉพาะ host ที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง จึงมีผลเฉพาะส่วนของตาราง router ที่ส่ง BGP-4 เป็นเวอร์ชันล่าสุด ซึ่งให้ผู้บริหารระบบทำการคอนฟิก cost metric ตามนโยบาย

การติดต่อด้วย BGP ของระบบ แบบอัตโนมัติที่ใช้ Internet BGP (IBGP) จะทำงานได้ไม่ดีกับ IGP เนื่องจาก router ภายในระบบอัตโนมัติต้องใช้ตาราง routing 2 ตาราง คือ ตารางของ IGP (Internet gateway protocol) และตารางของ IBGP
BGP เป็นโปรโตคอลที่ทันสมัยกว่า Exterior Gateway Protocol